fangrio

ตกผลึกจากหนังเรื่อง The Secret Life of Walter Mitty (2013) ตามหาความงดงามของชีวิตที่หายไป

“Warning Spoilers”

ตกหลุมรักหนัง road movie แล้วละ  😀  😀
เพราะ The Secret Life of Walter Mitty มันทำให้เห็นโลกในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน , แปลกใหม่
คือมันไม่ใช่ถนนในแบบกรุงเทพฯ ไม่ใช่ป้ายรถเมล์แบบในเมือง
และก็ภูเขาเขียว ๆ แบบบ้านเรา
ทุกครั้งที่ได้ดูหนังแนวนี้
ให้ความรู้สึกเหมือนเด็กกำลังเจอสนามเด็กเล่นแห่งใหม่ที่เต็มไปด้วยเครื่องเล่น
ที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน มันฉุดให้เราอยากเข้าไปลองเล่นดู ไปเจอ
ออกไป up ออกไป chill ออกไป up skill  (มาเป็นเนื้อเพลง)
การมีชีวิตอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ และเข้าใจแก่นสำคัญของชีวิตมากขึ้น

หนังเรื่องนี้ก็เช่นกัน

The Secret Life of Walter Mitty มีชื่อไทยว่า ชีวิตพิศวงของวอลเตอร์มิตตี้

Walter Mitty คือชื่อพระเอกของเรื่อง (Ben Stiller)
หนังนำเสนอบุคลิกให้ตอนต้นว่าเป็นคนขี้กลัว ใช้ชีวิตซ้ำซาก ธรรมดา จืดชืด
ลุคพระเอกตอนแรกไม่มีอะไรน่าสนใจเลยอ่ะ
แถมยังชอบหลุดเหม่อลอยเป็นอยู่ในโลกเพ้อฝันของตัวเอง
(ชอบฉากตอนพระเอกจินตนาการไปในโลกเพ้อฝันมาก แฟนตาซีเจ๋งดี เต็มไปด้วยซีนแห่งการกล้าหาญ หรือบางทีก็โรแมนติก)


เขาทำงานอยู่ในบริษัทนิตยสาร LIFE ในตำแหน่งผู้ปิดทองหลังพระสุด
คือเป็นบรรณาธิการด้านภาพฟิล์มเนกาทีฟ
เป็นคนจงรักภักดีต่องานมาก
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สุด และเป็นที่รักของคนรอบข้างเสมอ

พระเอกนี่ก็เป็นชายวัยกลางคนละนะ 40 ละ
แต่ยังไม่มีครอบครัว ใช้ชีวิตอยู่กับแม่ และน้องสาว พ่อเสียไปแล้วตั้งแต่เขาเป็นวัยรุ่นตอนต้น นี่น่าจะเป็นอีกเหตุผลนึงที่เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรอบอย่างเข้มงวด และปล่อยให้เกิดความเสี่ยงในชีวิตขึ้นไม่ได้ เพราะเขามีคนต้องรับผิดชอบ การได้ออกไปผจญภัยจึงอยู่ห่างไกลจากชีวิตประจำวันเขา

แต่ในความจืดชืดของชีวิตมิตตี้ เขายังแอบชอบผู้หญิงที่ทำงานอยู่คนหนึ่ง
ชื่อ เชอรีล (Kristen Wiig) เธอเป็นคุณแม่ลูกหนึ่ง และเพิ่งเลิกกับสามีไป
หนังนำเสนอว่ามิลตี้ได้เข้าไปใช้บริการเว็บหาคู่ออนไลน์ (นางเอกนางก็เล่นเว็บนี้อยู่ด้วย)
ซึ่งในนั้นจะให้กรอกชีวประวัติ แล้วก็ให้เล่านำเสนอเกี่ยวกับตัวเองสั้น ๆ
ว่าสนใจหรือมีงานอดิเรกอะไร
มิตตี้ปล่อย Blank ในส่วนนี้จึงทำให้ไม่มีใครสนใจเขาเลย
บวกกับเว็บไซต์ตัดขาดเขาออกจากสาระบบ
เนื่องจากเขาขาดการอัพเดตข้อมูลส่วนตัว
และพระเอกต้องการจะส่งอมยิ้ม (Wink) ไปให้นางเอกในเว็บ
เพื่อแสดงให้เธอรู้ว่า เขาสนใจเธออยู่นะว้อย
(แต่ชีวิตจริงอยู่บริษัทเดียวกันยังไม่กล้าแม้จะเข้าไปคุยหรือทักทายเธอ ถึงจะอยู่กันคนละแผนกก็เถอะ โถ่ ขัดใจจริงเล้ย) แต่มันส่งไม่ได้ เขาเลยโทรไปโวยวายกับแอดมินระบบว่าทำไมเนี้ย?
ทำไมผมถึงส่งอมยิ้มให้เธอไม่ได้ฟะ?
ไอ้แอดมินก็บอก มึงไม่ใส่ข้อมูลอะไรลงไปในประวัติเลย
แถมยังไม่มีใครสนใจมึงอีก อมยิ้มก็ไม่เคยได้จากสาวที่ไหน
แล้วจะเก็บข้อมูลไว้ในรกเว็บทำไมล่ะ บลาบลา พร้อมกับทิ้งท้ายด้วยประโยคที่ว่า
“คุณมีอะไรที่น่าพูดถึงบ้างรึป่าวละ?”


แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนของเขา คือนิตยสาร Life ที่เขาทำงานอยู่
ประกาศปิดตัวฉบับกระดาษเพราะถูกซื้อหุ้นไป
จึงทำให้อีกหนึ่งเดือนข้างหน้านิตยสารจะไปอยู่ในรูปแบบฉบับ Online แทน
ชีวิตของพระเอกจึงตกอยู่ในความเสี่ยง หมายความว่างานของเขาจะถูกลด Priority ลง
จนอาจต้องถูกถอดจากบริษัทในที่สุด
พล็อตเรื่องของหนังหลัก ๆ เน้นไปที่
การตามหาฟิล์มหมายเลขที่ 25 ที่หายไป
ซึ่งฟิล์มนี้
เป็นแก่นสำคัญของนิตยสารโดยมันจะถูกใช้เป็นภาพปกสุดท้ายของนิตยสาร LIFE ฉบับกระดาษ
ทำให้มิตตี้ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบ
ต้องออกตามหาฟิล์มหมายเลขที่ 25 ที่หายไป
แหละนี้คือจุดเริ่มต้นของ The secret life of walter mitty

ประทับใจหนังเรื่องนี้สุดก็ตรงภาพประกอบหนัง มุมกล้อง สวยมาก สวยจริง
แทบจะอวยเบอร์อะไรก็กดมาเลย เรื่องภาพเนี้ยะ 10/10
แบบรู้เราว่าทีมงานทุกฝ่ายตั้งใจมาก เราเห็นความตั้งใจนั้น
เขาคงทำงานด้วยความรักจริงๆ มันถึงสื่อออกได้มีพลังมาก
มันเหมือนได้อ่านนิตยสารท่องเที่ยว (National Geographic) ดี ๆ สักเล่มนึง
ในฉบับภาพเคลื่อนไหวได้ และกราฟฟิคก็ดีงามพระราม4 จริงๆค่ะ
พวกเทคนิคการเอา Text สวยๆ Quote วลีคมๆ ไปใส่ตามฉากแบบเนียนดีจริง
ตั้งแต่ต้นเรื่องมันแทรกขึ้นแบบไม่ขัดหูขัดตาเลยค่ะ

“To see things thousands of miles away, things hidden behind walls and within rooms, things dangerous to come to, to draw closer, to see and be amazed.”

พูดถึง Ben Steeler พระเอกของเรื่องที่เป็นผู้กำกับหนังเรื่องนี้เองด้วย
ตามที่เกริ่นไปในตอนแรกว่าบุคลิกเขาน่าเบื่อมาก แต่พอช่วงที่ออกไปผจญภัยตามหา
“ฟิล์มหมายเลขที่ 25” แล้ว!!!!!!!!!!!!!!!
โอ้วโหววว
เปลี่ยนไปเลยอะ


จากที่เคยเดินหลังค่อม ก็ดูสมาร์ทขึ้น กร้านโลก
ไม่ได้เป็นลุคพนักงานออฟฟิศเฉื่อยแล้วอะแกรรร
ดูมอมแมมขึ้น แต่เต็มไปด้วยบุคลิกใหม่ที่ชวนให้น่าค้นหากว่าเดิม

หนังซ่อน Symbolic ไว้เยอะอยู่นะ ดูรอบเดียวอาจจะไม่ยังเจอ (เราเองก็คิดว่ายังเจอ symbolic ไม่ครบดูไป 2 รอบเยะ) ตั้งแต่เรื่องสีทีใช้ในช่วงแรกของชีวิตพระเอก, รถ (Red One or Blue One),
คำพูดเรียบ ๆ ของตัวละคร แต่ดูเพลินอะ ไม่ต้องคิดมากว่าจะตีความไม่ได้หรือไม่เก็ท
หนังมันสะท้อนสิ่งที่แฝงอยู่ในใจหลาย ๆ คนออกมา
ดูเสร็จก็อยากจะ backpack ออกไปเที่ยวเลยงะ
ออกมาจาก comfort zone กันนนนน!  😛

soundtrack ดี ๆ ต้องคู่กับหนังดี ๆ ด้วย หนังหลายเรื่องที่ดูไปอาจจะธรรมดาแต่พอเอาเพลงมาใส่ให้เข้ากับบรรยากาศของหนัง มันช่วยชูอรรถรสอารมณ์ของการดูหนังให้พีคเพิ่มขึ้นไปอีก

เพลง Wake Up (Arcade fire) ฉากวิ่งออกไปซื้อตั๋วเครื่องบิน  ปลุกใจมาก

– เพลงStep Out ปลดล็อคพลังได้ตัวคุณที่แฝงอยู่ข้างใน ติดมาจนถึงทุกวันนี้ ตอนเช้ายืนบน BTS เซ็ง ๆ ก็เพลงนี้แหละ ให้

เพลง Stay Alive เพลงตอนจบ ฟังแรกๆจะไม่รู้ความหมายแต่ให้ความรู้สึกไพเราะอย่างประหลาด พอได้รู้ความหมายยิ่งพบว่าเพลงนี้ความหมายดี

เพลง Space Oddity [Mitty Mix] ฉากพระเอกกระโดดขึ้นเฮลิคอปเตอร์ (ลุ้นดีว่าจะโดดไม่โดด) นางเอก Kristen Wiig ร่วมร้องด้วย เรียบเรียงขึ้นใหม่จากเพลงต้นฉบับของ David Bowie  นางเอกเรื่องนี้คือดีอะ บุคลิกธรรมดา ไม่ได้สวยเว่อร์ ไม่โง่ไม่ฉลาด แต่พอดีดกีต้าร์แล้วร้องเพลงนี่เท่านั้นแหละ แพงขึ้นทันที

-เพลง Dirty Paws – Of Monsters and Men เพลงประกอบ trailer หนังและซีนปั่นจักรยานลงภูเขา ฉากในตำนานของหนังเรื่องนี้เลย ตอนพระเอกสเก็ตบอร์ดลงเขา ภาพสวยมาก รู้สึกพลังในตัวมิตตี้ถูกปลดเต็มที่ด้วยซีนนี้แหละ โคตรเท่เลย ชอบมาก

อีกหนึ่งตัวละครที่พระเอกตามหาทั้งเรื่องคือ Sean O’Connell (Sean Penn ใครอยากอ่านรีวิวหนังที่ป๋าแกกำกับ จิ้ม) ออกมาแปปเดียวแต่เก๋ามากกก แต่ละคำที่ลุงแกพูดคือปรัชญา แมนๆคุยกันได้สาระที่ว่า

“Beautiful things don’t ask for attention”

ใครที่ Weak หนัก ๆ กับชีวิต ดูเรื่องนี้จบ เราว่าฮึกเหิมขึ้นเลยนะ อาจจะ 100% 50% 20% ขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่รับได้จากที่หนังพยายามสื่อออกมา มันทำให้ตะหนักได้ว่าคุณค่าของชีวิตไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก แต่อยู่ที่ตัวเรานี่เองว่าจะเจอมันรู้เปล่า อย่าให้ใครมาตะโกนกดดันบอกว่าเรายังไม่สุดตลอดเวลา ให้ตัวเราเป็นคนให้คำตอบเองจะดีกว่า

The way you choose, the way you are.

และ

– – Stop Dreaming, Start Living – –

Comments

comments

Exit mobile version