fangrio

เทรนด์งานดิจิตอล ปี 2560 ที่มาแรงแซงทางโค้ง! (Hot skills in demand, job trends for 2017)

เทรนด์งานดิจิตอล มาแรงแซงทางโค้ง!

เมื่อเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทในการทำงานแน่นอนว่าการแข่งขันก็เพิ่มขึ้นด้วย
แต่สายงานที่น่าสนใจในปี 2560 คงหนีไม่พ้นดิจิตอล ที่หลายบริษัทกำลังสู้รบปรบมือแย่งชิงตัวคนมีฝีมือไปร่วมงานด้วย

หลังจากที่สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย
เปิดว่าเผยในเดือนมีนาปี 2560 นี้นะคะ จะมีนักศึกษาจบใหม่ 2.1 แสนคน
แน่นอนว่าจำนวนนี้มีทั้งคนที่ได้งาน และก็ตกงาน
ซึ่งใครที่ตกงานอาจถูกจัดไปสมทบกับกลุ่มคนว่างของปี 2559 ประมาณ 3.62 แสนคน

ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า อัตรการจ้างงานต่ำลง
หรือเป็นเพราะบริษัทต่างๆ ตั้งคุณสมบัติสูงเกินไป? หรือ เพราะผู้สมัครเลือกงาน?

เหตุผลไหนกันนะ?

คงต้องล้วงลึกไปถึงระดับรากฐานการศึกษาด้วยเช่นกันว่า
เด็กเลือกเรียนระดับอุดมศึกษาเพื่อออกไปทำงานจริง
เลือกเรียนตามเพื่อน
หรือถูกบังคับเรียน


ซึ่งคนเป็นพ่อเป็นแม่ คงต้องรีบหันกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องเรียนของลูกอย่างจริงจัง
โดยไม่อิงตามของนิยมของสถาบัน เพื่อปลูกฝังว่าต้องเรียนโรงเรียนดังๆ
หรือเรียนคณะที่คิดเอาเองว่าจบมาแล้วได้งานทำ
โดยไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเรียนตามความชอบหรือความถนัดตนเอง

อย่างในปี 2560 ก็คอนเฟริมมาแล้วว่า
นักศึกษาเกินกว่าครึ่งที่จบมาจากสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์มีความเสี่ยงในการตกงานสูงสุด
และปัจจัยที่ทำให้ตกงานก็มาจากสาขาที่เรียนแล้วไม่มีตลาดรองรับ
ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กที่เลือกเรียนสายวิชาชัพและกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในบ้านเราอย่างต่อเนื่อง

ตำแหน่งงานที่จะสูญหายในอนาคต!

แต่อีกสายงานที่น่าจับตามองปี 2560 ที่ 2 บริษัทรับสมัครงานชั้นนำของไทยของ
จ็อบส์ ดีบี (Job DB) และ แมนพาวเวอร์ (Manpower)
คอนเฟริมไปในทางเดียวกัน คือสายงานในกลุ่มดิจิตอล ที่มีแนวโน้มจะมาแรงมากที่สุด

นพวรรณ จุลกนิษฐ
กรรมการผู้จัดการ บ.จัดหางาน จ็อบส์ ดีบี (ประเทศไทย)
“เทรนด์การทำงานปี 2560 มีความคล้ายคลึงกับปี 2559
เนื่องจากปีปัจจุบันเป็นยุคของสมาร์ทโฟนและคนไทยเข้าถึงอินเตอร์เน็ตถึง 56%
ใช้ผ่านมือถือ 8.8 ชั่วโมงต่อวัน และจากข้อมูลการสำรวจเราเอง
การที่ตลาดเปลี่ยนจาก Traditional เป็น Digital ทำให้ขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ถึง 85%
โดยเฉลี่ยตำแหน่งงานนี้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าอาชีพดั้งเดิม 61%
สำหรับผู้ที่จะหางานเพื่อความก้าวหน้า ควรอัพเดทโปรไฟล์ให้มากขึ้น
ที่สำคัญ HR จะมองหาผู้ที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นหลัก”

สุธิดา กาญจนกันติกุล
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย)
“ต่อไปจะเกิดแรงงานแห่งอนาคต หรือ Human Age 2.0 จนเกิดมิติใหม่ที่เรียกว่า มิลเลนเนียน
โดยทั้งลูกจ้างและนายจ้างต้องมีการพัฒนาร่วมกันคือเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้ามีอินเตอร์เน็ตก็ทำงานได้ ลูกจ้างเองก็พร้อมที่จะพัฒนาตัวเองโดยไม่ยึดติดในตำแหน่งงาน
ซึ่งคนทำงานจริงจะกลายเป็นกลุ่มคมที่กำหนดทิศทางต่อไปของการเรียนการสอน
และภาษาที่ 2 จะกลายเป็นเรื่องธรรมดา เพราะถ้าได้ภาษาที่ 3 หรือภาษาเทคโนโลยี
และมีประสบการณ์การทำงานพ่วงเข้ามาไม่ต่ำกว่า 2 ปี โอกาสได้งานจะสูงมากขึ้นอีก”

เทรนด์งานดิจิตอล ปี 2560 ที่คาดว่าจะมาแรงที่สุด

ซึ่งวิเคราะห์ตำแหน่งจากการส่งใบสมัครงานออนไลน์
อาทิ SEO หรือ SEM, Digital Media Planner,
คนเขียนแพลทฟอร์มต่างๆ บนสมาร์ทโฟน เป็นต้น
ที่สำคัญ เงินเดือนในสายงานนี้ก็พุ่งขึ้นเรื่อยๆ
เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาก็เริ่มพิสูจน์ให้หลากกลุ่มอุตสาหกรรมเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า
การทำงานผ่านเทคโนโลยี หรือการนำเข้ามาช่วยทำงานนั้น
ทำให้เกิดความรวดเร็ว ฉับไว เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของบริษัทได้เพิ่มขึ้นจริงๆ

อีกทั้งเด็กสมัยใหม่ หรือคนทำงานในยุคนี้มีการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ต่างๆ
เช่น โทรศัพท์เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ทำงานได้
หรือคิดอะไรไม่ออกจะเน้นการเสริชหาแบบทันท่วงที
และใช้สื่อออนไลน์ในการตัดสินใจเรื่องอนาคตมากขึ้น

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ควรส่งเสริมพื้นฐานเรื่องการทำงานกันตั้งแต่เด็ก
ไม่ว่าจะเป็นการฝึกฝนตัวเองทั้งเรื่องการเรียนภาษา
การใช้งานคอมพิวเตอร์ และการฝึกประสบการณ์การทำงาน
เช่น การแบ่งเวลาทำงานพิเศษ
ซึ่งการฝึกทำงานจะทำให้เห็นความถนัดที่แท้จริงของตัวเองได้

เป็นการสร้างค่านิยมใหม่ให้เกิดขึ้นเด็กและผู้ปกครองว่า ไม่ควรเลือกงานจนเกินไป
ให้คิดว่าถ้ามีงานที่พอจะทำได้แล้ว ก็ควรลองทำ
เพื่อให้ได้ค่าประสบการณ์ไว้ก่อน
แต่หากยังไม่พร้อมทำงาน
การเลือกไปเรียนต่อเพื่อทดแทนการว่างงานก็เป็นเรื่องที่ดีที่จะเพิ่มความรู้ขึ้นด้วย
หรือเมื่อได้งานทำตามที่ถนัดก็ควรกระตือรือร้นหมั่นศึกษาหาความรู้
เพื่อพัฒนาทักษาเพิ่มเติมอยู่ตลอด
แล้วจึงขยับขยายไปหาสิ่งที่ท้าท้ายทำขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อต่อยอดความสามารถและเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเองอีกด้วย

ทั้งนี้ทางภาครัฐ ภาคการศึกษา และเอกชนเอง
ก็ควรปรับตัวควบคู่ไปด้วยในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ว่างงานงาน
หรือเด็กจบใหม่ในการจัดหางานเพื่อรองรับให้ตรงสายที่สุด

กลุ่มอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสมากที่สุดปี 2559

  1. กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน เฉลี่ย 3.37 เดือน
  2. กลุ่มธนาคารและบริการทางการเงิน เฉลี่ย 3 เดือน
  3. กลุ่มธุรกิจประกันภัย เฉลี่ย 2.9 เดือน
  4. กลุ่มปิโตรเคมี เฉลี่ย 2.2 เดือน
  5. กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรนิกส์และเครื่องปรับอากาศ เฉลี่ย 1.82 เดือน
  6. ธุรกิจโรงแรม เฉลี่ย 1 เดือน

สุดท้ายนี้อยากให้เข้าใจร่วมกันว่าประเทศไทยเราไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนด้านแรงงาน ที่จริงเราได้เปรียบกว่าหลายประเทศเสียด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่คือ การจับคู่คนทำงานและตำแหน่งงานที่เหมาะสมแต่ประสิทธิภาพคนทำงานในไทยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำคงต้องช่วยกันหาทางออกที่แท้จริงให้เจอ

Mismatching between Education and Employment : Who’s to blame?

It looks like most of the unemployed for 2017 will come from this year’s graduates. Employers want to employ people who have the right qualifications, so the possibility of recent graduates being turned down by employers is high.

The Employer’s Confederation of Thai Trade and Industry revealed that there will be 210,000 graduate in March 2017. Some among them will not receive employment.

Do we have a low employment rate?
Are the businesses demanding excessive qualifications or are the jobs seekers simply too choosy?

To get the correct answer, we need to look at how student choose their field of study at higher education levels.

Do they choose the subject according to their aptitude, peer pressure or even parental pressure? Parents have a lot of influence in which subject their child should take or which university to attend and ignore the need for their child to choose this subject he/she is gifted in.

In 2016, more than half of the graduates in Humanities, Education and especially

Social Science are unemployed due to a low demand in the job market compared to the vocational diplomas.

Parents should encourage their child to find their aptitude at the school level so they know which subject they should take at university. Moreover students should have knowledge in s second language, computer skills and gain working experience

to realize their aptitude.

Job seekers themselves should not be choosy and take a job offer to gain experience. They should also keep accumulating knowledge and skills to broaden their employment opportunity.

Thailand does not have a shortage in the workforce but rather a mismatch of the workforce and suitable job applicants.

Comments

comments

Exit mobile version