fangrio

มาทำความรู้จักเกี่ยวกับ SAP Consult ให้มากขึ้น พร้อมบอกเล่าถึงชีวิตการทำงานและสายงานที่เกี่ยวข้อง SAP ทั้งหมด (What does an SAP consultant do?)

1 ปีผ่านไปสำหรับการครบรอบสำหรับชีวิตการทำงานในสาย SAP Consultant เป็นไงบ้างละ
จากบทความเดิมตอนที่แล้ว เล่าประสบการณ์ชีวิตกว่าจะได้งาน SAP CONSULTANT ผ่านอะไรมาบ้าง
หลังจากที่กด  Public ไปแล้ว มีคนแชร์ให้เยอะแยะเลยอะ ขอบคุณนะ ทั้งเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ
มันมีคนส่งเมล์เข้ามาถามเกี่ยวกับ งาน sap consult ทักแชท
เราเพื่อถามข้อมูลเพิ่มจนรู้สึกว่าที่ลงทุนหาข้อมูลจากหลาย ๆ คนที่ทำงานอยู่สายเดียวกัน
มารวมเป็นบทความชิ้นนั้นขึ้น เป็นประโยชน์มาก

จึงมีความคิดจะเขียนขึ้นมาเป็นตอนที่ 2 ซึ่งก็คืออันนี้เนี้ยะแหละ
แต่เนื้อหาจะเจาะลึกลงไปอีกเกี่ยวกับ SAP Consult
ให้มันดูมีความรู้เฉพาะทาง สมกับที่จมปลักกับด้านนี้มาระยะหนึ่งแล้ว

Agenda ทั้งหมดในหน้านี้คร่าว ๆ ก็จะเล่าประมาณ 2 เรื่องหลักๆ ละกัน ถ้ามากกว่านี้ถือว่าออกทะเล
1. เนื้อหาการทำงานสำหรับการ Implement SAP ตั้งแต่เริ่มจนจบโปรเจ็ค  (ASAP Methodology)
2. แตกรายละเอียดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับ SAP

How I feel at work on the Monday in between Christmas and New Years.

เอาละ

ถ้าใครได้ติดตามบล็อกเรามาจะทราบว่า
เราได้เลือกตัดสินใจทำงานกับบริษัท i am consulting มาตั้งแต่เรียนจบ IT ใหม่ๆเลย
ละก็ยังจงรักภักดีกับบริษัทไม่ได้ลาออก หนีไปอยู่ที่ไหนหรอก
บริษัทก็ไม่ได้ผูกมัดให้ติดพันธะด้วยสัญญาอะไรด้วย
โดยรวมแล้วก็ยังคิดว่า ตัวเองโชคดีอีกนั่นแหละ ที่ได้ทำที่นี่
55555555555555555

My first real work as consultant

หลังจากโดนจับ Training Overview อยู่ 2 เดือน
ก็ได้จับแต่งงานใช้ชีวิตกับ Module MM  (Material Management) ค่ะ
ทำไมถึงได้ทำโมดูลนี้ละ?
จริง ๆ ตอนนั้นอยากทำโมดูล CO (Controling) มากกว่า
เพราะว่าชอบพี่คนที่มาสอน Overview CO ให้ สอนดี น่ารัก เลยอยากทำ
มันน่าสนใจดีเพราะว่า
เป็นโมดูลที่อยู่ปลายทางของข้อมูลทั้งหมดเลย มันจะแง้มๆ เกี่ยวกับการดูข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาด้วยเลยอยากลองทำดู
ช่วงนั้นเห่อกับคำว่า  Big Data ด้วยมั้ง เลยคิดว่า  CO น่าจะมีความใกล้เคียงกัน

แต่จับผลัดจับผลูได้มาทำ MM เพราะว่าตอนพรีเซนงาน
หลังจากจบคอร์ด Training เราได้พูดเกี่ยวกับเนื้อหาของ  MM เต็มๆเลย
พี่ซีเนียร์ก็คงเห็นแหละไหนไหน แกก็เลือกจะพรีเซนโมดูลนี้แหละ
ก็ทำอันนี้ไปแหละ อย่ามางอแงทำ CO เลย

เล่ามาสักพักแล้ว บางคนอาจจะสงสัยว่าโมดูลต่างๆ
ที่เราเล่ามาเนี้ยะมันคืออะไร และ SAP มีโมดูลอะไรให้ทำบ้างนะ
เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังเลยละกัน เริ่มจากใกล้ตัวสุดเลยละกัน MM

MM (Material Management) จะเกี่ยวข้องกับการบริหารคลังวัสดุ และการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด
เริ่มต้นตั้งแต่การจัดการวัสดุสิ่งของต่าง ๆ พอมีการซื้อวัสดุเข้ามา
ก็เกิดกระบวน Procurement เช่น เปิด PR ใบขอซื้อ  -> PO ใบสั่งซื้อ  -> GR รับของ  -> LIV ตั้งหนี้
และก็ยังมีอีกเรื่องของ Inventory Management อีกด้วย
อันนี้จะเกี่ยวกับพวกจัดเก็บ Stock ของบริหารคลังสินค้าต่างๆ มันค่อนข้างใหญ่ พูดคร่าวๆ ไปก่อนเนาะ

FI   (Financial Accounting) เป็น ระบบบัญชีการเงิน ใน SAP
ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลรายการทางบัญชีของธุรกิจเต็มๆ เลย
ซึ่งโมดูลนี้ค่อนข้างยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างมาก ภายในแบ่งเป็น Sub-Module ย่อยอีกถึง 4 ตัวคือ

เป็นโมดูลเพื่อนบ้านของเราเอง (MM) เนื้อหารายละเอียดค่อนข้างจุกจิก
แค่ GL ตัวเดียว ก็เทียบเท่าโมดูลอื่นๆ เล็กๆหลายโมดูลรวมกันแล้วอะ
ฉะนั้นช่วงเริ่มแรกทำใหม่ๆ ก็จะเริ่มจากเรียนรู้จากซับโมดูลใดอันหนึ่งไปก่อน
และเดี๋ยวมันก็จะค่อยๆซึมๆไปหาอันอื่นๆเอง ถ้าจะรู้ทีเดียว ตู้มนึง ท่าจะไม่น่าไหว
เพราะ FI นี้มันเยอะมากจีจี เกี่ยวกับบัญชี ตัวเลข ละเอียดอ่อนด้วยแหละ
คนที่เรียนจบทางด้านสายบัญชีมาทำสายนี้ก็เอาจะได้เปรียบอยู่นิดนึง
แต่ใช่ว่าจบ IT หรือสายคอมพ์อื่นมาจะทำไม่ได้นะ ก็ได้ แต่ต้องมารู้ศัพท์บัญชีเพิ่ม บวกกับปวดหัวเพิ่มขึ้นอีกนิดนึงเอ๊ง (หรอ)

CO (Controlling) วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงบัญชีบริหาร เกี่ยวข้องกับงบกำไร-ขาดทุน คิดต้นทุน
โมดูลนี้จะเป็นโมดูลที่เป็นปลายทางของข้อมูลเลย มักจะเอาไว้ให้ผู้บริหารดูรายงานภายในองค์กร
จากที่เล่าๆมาตั้งแต่ต้นจะเห็นว่าต้นน้ำของข้อมูลจากมาจาก MM
ถูกส่งต่อมายัง FI แล้วก็มายัง CO  แต่ระหว่างนี้ก็อาจะมีโมดูลอื่นเข้ามาแจมด้วยได้เสมอแหละ
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจว่าต้องการใช้โมดูลไรบ้าง

ตัวข้อมูลหลักของ CO เนี้ย ก็จะเป็น ศูนย์กำไร (Profit center) ศูนย์ต้นทุน (Cost Center),
Internal Order ตัวนี้มันไม่ฟิคว่าเราจะกำหนดเป็นอะไร
มันขึ้นอยู่กลับองค์กรหรือบริษัทที่จะเอาไปใช้ เช่น แทนรหัสยูนิตขาย หรือเอาไปแทนทะเบียนรถ
คือต้องประยุกต์เอาอ่ะง่ายๆ  (ยากตรงเนี้ยยยย TT)  ต่อๆ
ชื่อโมดูลก็บอกอยู่แล้วเนอะว่า Control ก็เป็นโมดูลที่ควบคุมดูภาพรวมขององค์กร
อธิบายเพิ่มเติมซักหน่อย พวก Profit Center /Cost center เนี้ย
เราก็ดูได้ว่าว่าโปรเจคนี้ได้กำไรหรือขาดทุนจริงๆเท่าไร แต่ละตัวมันจะเชื่อมโยงกันหมดนะ
ตัวมันก็มีการประมาณการว่าจะใช้งบแต่ละอย่างเท่าไร  เช่น ประมาณการใช้งบ(Plan)
แล้วก็มาใส่งบประมาณที่ใช้ได้จริงๆ (Budget) ตรงนี้มันมีข้อดีตรงได้เห็นแบบrealtime
ว่าใช้งบไปแล้วเท่าไหนบ้าง แต่ข้อเสียมันก็มีนะ แบบ งบหมดก็ต้องมานั่งเบิกงบ ของบเพิ่ม
ถ้าตัวไหนคุมงบประมาณเนี้ย แล้วติดเนี้ย PR PO ของทางฝั่ง MM ก็จะเปิดไม่ได้เลยนะจ้ะ

มาพูดถึงอีกเรื่องที่สำคัญของโมดูลนี้กันดีกว่า ขาดไม่ได้เลยแหละ คือรายงาน Report ต่างๆ
คือมันเป็นบัญชีบริหารนิเนอะ เอาไว้ให้ดูภาพรวมบริษัท หรือจริงๆดูได้ระดับline item ก็ได้นะ
เพราะ SAP มันเชื่อมโยงกันหมดนั้นแหละ (ข้อดีของSAP ไปอี้กก) ก็ที่ทำกันหัวหมุนทุกวันนี้
ก็เป็นตัวรายงานที่พูกโมดูลโน้น โมดูลนี้ ใส่สูตรนู้นนี่เข้าไป ต้องเป็นรายงานกำไรขาดทุน ตัวนั้นตัวนี้
ตามที่แต่ลูกค้าอยากได้ ถ้าตัวไหนทำไม่ได้พี่ทีมก็จะบอกกับลูกค้าไปเลยว่า SAP จะทำได้แบบไหน
ไม่งัั้นหรอจ้ะ ตายจ่ะ เยอะแบบลากเลือด
เรื่องยากอีกเรื่องของโมดูลนี้ก็คือเรื่องตรวจสอบรายงานต่างๆเนี้ย
ก็บอกแต่ต้นอยู่แล้วเนอะว่ารับมาจากต้นทาง ถ้ารายงานผิด
เราก็ต้องเสาะแสวงหาให้ได้ว่าผิดตรงไหนจุดไหน ฝ่ายไหนทำอะไรมาผิด
ใส่ costcenter ผิดทำให้ไปลงต้นทุนผิดตัวเงี้ย กว่าจะปิดบัญชีได้ใช่เรื่องอยู่นะจ้ะ
อ่อ เพราะกว่าทางCO จะปิดได้ต้องรอให้ทาง FI ปิดบัญชีก่อนนะจ้ะค่อยถึงคิวของ CO
โมดูลท้ายสุดจริงๆบอกเลย แต่ใครจะมาทำมันก็ท้าทายดีนะ
(แอบกระซิบบอกว่าตอนแรกนี่ไม่อยากทำโมดูลไรไม่รู้ ยากจัง ทำยังไงก็ไม่เข้าใจ
แต่พี่ต้องเห็นอะไรในตัวเราแน่ๆ แต่พอมาทำแล้วมาทำความเข้าใจจริงๆ มันก็โอเคนะแกรรรร
ได้ประยุกต์ ได้ปรับ มันไม่มีอะไรฟิคอ่ะแกร ฉันก็ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา
แต่เราว่าที่ยากจริงๆมันอยู่ที่ business มากกว่า ว่าเราได้business อะไร
ต้องทำความเข้าใจกับมันมากๆ ไม่งั้นเอ๋ออจ้า คุยกับใครเค้าไม่รู้เรื่อง บอกเลย >///<, จุ๊บบ)

PS (Project System) ก็เป็นโมดูลที่ควบคุมดูแลระบบ โปรเจค
จริงๆก็แอบคล้ายกับการคุมงบประงาน ใช้งบประมาณเหมือนทาง 
CO นะ แต่ แต่ มันละเอียดอ่อนกว่านั้นจ่ะ
เช่น มันสามารถ คุมตามราย
BOQ ได้เรย, การอัพ time sheet
เพื่อไปเป็นต้นทุนของงานหรือโปรเจคนั้นๆ,การตัดงบหรือตั้งงบประมาณตามสัญญา
แต่ละอันมันก็แล้วแต่จะคอนฟิคเข้าไป บางทีก็สามารถโยกย้าย
sub module ย่อยไปทำงานในส่วนของ CO
(บอกแล้วว่ามัน adapกันได้หมดจริงๆจ่ะ )
ส่วนมากคนที่ทำ CO ก็มักจะได้ทำ ตัวโมดูล PS นี้ ด้วย ก็มันใกล้ๆกันนิเนอะ
ขึ้นกับว่าใครจะถนัดงานส่วนไหน แต่เหล่า
consult เด็กๆอย่างเรา ก็ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆเสมอๆ :’)

มาต่อกันดีกว่า เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับพวกคุมงบประมาณ
ก็ต้องคุยกับลีดของทางลูกค้าให้ดีกว่า จะให้คุมงบ แบบจริงจังหรือแค่
warning
แจ้งเตือนเฉยๆ หากใช้งบเกินก็ต้องส่งไปของบประมาณอะไรประมาณนี้
ตัว 
BOQ ก็ละเอียดอ่อนนะ ต้องอัพให้ถูก ตอนสอนลูกค้าก็ต้องให้เป๊ะ
เพราะมันเยอะมาก ทำไฟล์ทำ
data ให้ดีนะจ๊ะ

อ่อในส่วนของ PS ก็มีรายงานเหมือนกับหลายๆโมดูลนั้นแหละจ๊ะ
ส่วนพวกที่ยากๆก็จะเป็นที่ต้องดึงข้อมูลมาจากหลายๆโมดูลงี้

อันนี้ก็แล้วแต่ลูกค้าอยู่ดีนะ ว่าต้องการดูอะไรบ้าง มันอยู่ที่ business
อยู่ที่ลูกค้านั้นแหละน่า แต่ไม่มีอะไรยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เกินกว่าที่จะพยายามนั้นแหละจ่ะ จุ๊บบ
(ขอบคุณข้อมูล  CO/PS จากเพื่อฝ้าย Pornthidee.K มากนะ)

PP Production Planning) Module นี้เกี่ยวข้องกับการางแผนการผลิต กระบวนการผลิต
ซึ่งจัดเป็นหัวใจหลักในธุรกิจที่มีการผลิตในการขายหรือดำเนินธุรกิจ (Customize Program เยอะมากไว้จะเล่าให้ฟัง)
เช่น ปูนซีเมนต์ สูตรอาหารสัตว์ ฯลฯ

โดยข้อมูลหลัก (Master Data) จะเกี่ยวข้องไปในทาง ศูนย์ดำเนินงาน (Work Center)
สูตรการผลิต (Bill of Materials) เส้นทาง, ขั้นตอน, วิธีการผลิต  (Routing)  << (ไอนี่เรียกยากมาก กว่าจะคุ้นชิน ลูกค้าเรียกอีกอย่าง คอนซั้ลเรียกอีกอย่าง ปวดหัวมาก ว่าแบบมันคือไร) แล้วก็ Production Version (เวอร์ชั่นการผลิต)
แต่ละ Master Data มีความสำคัญมากๆ (ซึ่งจริงๆก็สำคัญทุกโมดุลแหละ)
แต่ module PP นี้จะมีการเขียน Customize program ให้ติดต่อ (Interface)
กับโปรแกรมภายนอกอีกที เช่นจำพวกเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต
เพื่อให้สื่อสารข้อมูลตรงกันกับ  SAP โดยเฉพาะสูตรการผลิต (BOM)
หากตรวจข้อมูลไม่ดี ส่งข้อมูลผิดๆออกไปยังเครื่องจักรจากทาง SAP

เราก็จะซวยยยยยยยย นะจ้ะ ตัวอย่างก็เช่น หากเราอัพโหลดสูตรการผลิตที่ผิดๆละนำขึ้นไปใช้จริงขึ้นมา
ละผลผลิตนั้นนำไปใช้ต่อกับสิ่งมีชีวิตเช่น ผลิตอาหารสัตว์ ผสมแร่ธาตุ ต่างๆ
ในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันงี้ ทำให้หมูเค้าตายยกโรงเรือนงี้หรือ spec
ของหมูที่เค้าเลี้ยงผิดเพี้ยนเนื่องจากที่กินอาหารเข้าไปจากสูตรผิดๆของเรางี้ ก็จบอนาคตเลยนะจ้ะ 555 เป็นต้น

โดยรวม PP ก็ดูแลการวางแผนการผลิตทุกอย่าง ตั้งแต่เตรียมสูตรการผลิต
เตรียมศูนย์งาน (เพื่อเก็บค่า activities ที่ใช้แรงงานไปลงยังฝั่งบัญชีสุดสวย)
เตรียมเส้นทางการผลิต (ในสูตรการผลิตแต่ละสูตรก็จะมีเส้นทางการผลิตเหมือนหรือต่างกัน)
ทั้งแต่ละสูตรการผลิตแม้ผลผลิตเดียวกันยังมีเวอร์ชั่นการผลิต (Production Version) ที่ต่างกัน ฯลฯ
พูดไปก็งง ถ้าอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ถามได้

โฟ่มามากพอละ ก็เอาคร่าวๆพอหอมปากหอมคอ
จะเห็นว่างานดีงานละเอียดก้ต้องมาเพราะมีเรื่องทีกระทบกับบัญชีหรือฝั่งลูกค้านี่ไม่ตลกนะจ้า
(ดีนะ พี่เลี้ยงนี่ละเอียดมาก) ไม่ใช่แค่ PP หรอก ที่ต้องงานละเอียด
ทุกๆ การทำงานเราต้องทำด้วยความใส่ใจ รอบคอบ ถูกมะ ตามนั้นแหละ
(ขอบคุณข้อมูล PP จากเอ็ม Sumet.T)

PM (Plan Maintenance) คือ วางแผนควบคุม และการซ่อมบำรุงรักษา แจ้งซ่อม/เสีย ยันไปถึงการปิดงานซ่อมให้สำเร็จ

SD (Sale Distribution) คือ เกี่ยวการด้านการขาย การกำหนดราคา และจะมีโลจิสติกเข้ามาด้วยว่าจะวางแผนการจัดส่งสินค้าอย่างไร

SAP ย่อมาจาก Systems, Applications and Products in Data Processing
(เอาจริงคนที่ทำ SAP มานานๆ พี่ซีเนียร์บางคนยังตอบไม่ได้เลยนะว่ามันย่อมาจากอะไร  เอ้อนี่ก็จำไม่เคยได้เหมือนกันแฮะ)

เป็นระบบงานเพื่อการบริหารจัดการองค์กรโดยรวม  ซึ่งมีระบบงานย่อยสำหรับแต่ละส่วนของธุรกิจ
เช่น  ระบบงานบัญชีการเงิน (FI)  ระบบการขาย (SD) และการจัดการพัสดุ (MM)
ระบบงานย่อยต่าง ๆ เหล่านี้มีการเชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์แบบและใช้ข้อมูลร่วมกัน
ซึ่ง SAP ก็คือ ERP (Enterprise Resource Planning) ตัวหนึ่งแหละ
จริงๆ ก็มีอีกหลายยี่ห้อที่ใช้ได้ แต่ SAP ก็จะ SAD สุดละ มี Market Share ใหญ่ที่สุดในตลาด ERP
ที่สำคัญมันแพงด้วย วุ่นวายด้วย 555555555555555555555

เข้าถึงหัวข้อแรกกันเถอะ ASAP Methodology
(ตัว A มาจากคำว่า Accelerated)

ASAP Methodology คืออะไรอะ?
– เป็นมาตราฐานในการพัฒนาระบบ SAP คือในการจะ implement SAP ขึ้นมาได้เนี้ยะ โซลูชั่น (จากรูปด้านบนนี้) เป็นวิธีการที่เขายอมรับการมาแล้วแหละว่า ถ้าทำตามนี้ๆๆๆนะ จะประสบความสำเร็จแน่นอน (เขาทำกันมาหลายที่ทั่วโลกแล้ว) เพราะทุกๆ Phase ถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกฟังก์ชั่นที่ใช้พัฒนาระบบเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นตลอดระยะเวลาการ Implement จะมีทีม Change Management คอยเข้ามาดูความคืบหน้า ติดต่อประสานให้กับทุกๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง Consult หรือ ทาง User ที่เป็นลูกค้าเอง ดำเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดีอย่างราบรื่น  (เอาจริงมันก็ไม่มีไรราบรื่นหรอก แต่ก็ทำให้มันติดขัดน้อยที่สุดแหละ)

ขั้นตอนของ ASAP Methodology มีอะไรบ้าง
– ประกอบด้วย 5 Phase การทำงานคือ

  1. Project Preparation (ยาวไป เราไม่เรียกหรอก เราเรียกกัน โปรเจคเปป บางทีก็เหลือ เปป)
    งานที่ทำในช่วงนี้คือการเตรียมตัว เตรียมคน เตรียมสถานที่ เตรียมใจ เตรียมทุกๆอย่าง
    ไม่ว่าจะเป็นทีมงานให้พร้อม แบ่งหน้าที่กัน เตรียมห้องที่ใช้ทำงาน ใช้เทรนนิ่ง
    ใช้ประชุม/อบรม อินเตอร์เน็ต โต๊ะ เตรียมเซิฟเวอร์ เตรียมไฟล์
    และก็จะเริ่มประชุมกับทาง User เพื่อเก็บ Requirement
    โดยจะเริ่มจากให้ User พูดถึงการทำงานปัจจุบันการ (AS-IS) ว่าเขาทำงานอย่างไร
    เราก็มีหน้าที่จดๆๆๆๆๆๆ เป็นวาระการประชุม  สเตปถัดมาก็จะให้เล่าต่อยอดจากเดิมแหละ
    แต่จะเป็นการบอกความต้องการในอนาคตที่ User อยากได้ (TO-BE) อยากให้มี อยากให้แก้ไข หรือพัฒนา
    ให้มันมีความสะดวกสบายต่อการทำงานเดิมช่วงนี้ถือว่าสำคัญมากถ้าเราเก็บ requirement จากลูกค้ามาไม่ครบ
    หรือเค้นความต้องการที่อยู่ในใจเขามาไม่หมด จะมีปัญหาใน phase ต่อไปในอนาคต
    ทีนี้ไอเรื่องครบไม่ครบ จะรู้ได้ไง นี่ก็คิดว่าต้องอาศัยประสบการณ์เข้าช่วย
    น่าจะบวกกับจิตวิทยาอ่านใจคนหน่อยๆด้วย เสียงที่ user ไม่ได้บอก
    แต่ consult ต้องตรัสรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเขาจะต้องการแบบนี้ในอนาคตแน่ๆ
    เป็นเรื่องที่เราก็ยังเข้าไม่ถึง ได้แต่ก้มหน้าจด ฟัง คิด อ่าน สังเกตเทคนิคการตอบโต้
    การรับมือกับสถานการณ์การโดนรุมอย่างถาโถมในที่ประชุม
    หลายครั้งก็นับถือพี่ๆซีเนียร์ที่เป็นทีมลีดประชุมเสียจริง โถพี่..ชีวิตต้อง สตรองงงงงงง!!!!
    ชีวิตประจำวันช่วงนี้จะเน้นไปที่ประชุม ประชุม ประชุม และก็ประชุม
    อาจมีทะเลาะตบตีกันบ้างเพื่อให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุดก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา
    เราอาจจะเห็นการที่ user คุยออกนอกทะเล หลุด agenda ที่เราต้องการไปบ้าง
    consult ที่ดีก็ต้อง control จุดจุดนี้ให้ได้ ไม่งั้นมันจะกลายเป็นแบบคุยกันทั้งวัน
    แต่เนื้อหาสาระที่ต้องการก็ยังไม่ได้ข้อสรุปสักที มันเสียเวลาเนอะ..

    ความเหนื่อยในช่วงนี้คงเป็นเหนื่อยใจ เหนื่อยหู
    เหนื่อยการคิดตามซะมากกว่า ยังไม่ใช่ช่วงพีคเท่าไร
  2. Business Blueprint ช่วงออกแบบดีไซน์ระบบ  ทำ Flow การทำงานของระบบ
    ที่ได้ประชุมมาจากเฟดที่แล้ว เฟดนี้ก็สำคัญนะ ถ้าออกแบบไม่ครบ หรือดีไซน์ผิด
    ผลกระทบที่ตามมาเฟดหลังๆ จะวุ่นวายไปหมด ถ้าจะแก้อะไรก็ควรแก้ตั้งแต่ช่วงนี้แหละ
    ถ้าหลุดเฟดนี้ไปแล้ว เกิดข้อผิดพลาดเกี่ยวกับ Blueprint ขึ้นมาจะรวนไปหมด
    เพราะมันค่อนข้างวุ่นวายถ้าจะต้องมารีดีไซน์กันใหม่
    ก็เหมือนกันกับการออกแบบสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง
    ช่วงนี้ก็เหมือนการออกแบบพิมพ์เขียว แก้แบบให้ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ
    และอยากจะได้มากที่สุด ถ้าแบบเป๊ะละเอียดชัดเจน
    พอฝ่ายที่เอาแบบไปดูต่อ ไปสร้างจริง เขาก็จะง่าย
    เพราะทุกอย่างระบุถึงความต้องการไว้ชัดเจนแล้ว
    ช่วงนี้ก็มีประชุมบ้าง ทำ flow อาจจะเตรียมขอข้อมูลจริงจาก user มาลองเล่นในระบบ SAP ด้วยบ้าง
  3. Realization พอเราออกแบบจากพิมพ์เขียว หรือ Blueprint นั่นแหละ มาทำจริง
    Config เอย เขียนโปรแกรมเอย และก็จะต้องทำการ Test ระบบ
    โดยช่วงของการ test จะมี Unit test, SIT, UAT, KUT เทสวนไปค่ะ
    เจอ bug หรือติด error ก็ชาร์จแก้ มี issue อะไรมาก็พยายามปิดประเด็นให้ไวที่สุด
    ความรู้ได้ร่ำเรียนมาตลอด 4 ปีในมหาลัยไม่ว่าจะเป็นวิชาใดใด
    มันก็ได้เอามาใช้จริงทั้งนั้น ทักษะพื้นฐานอย่างเช่น MS Office อันนี้สำคัญอย่างยิ่งยวด
    Word, Excel, Powerpoint, Visio นี้ใครว่าไม่สำคัญ
    สกิลเล็กๆน้อยๆนี้แหละจะทำให้คล่องกับงานเอกสารขึ้น
    ตอนเรียนเราก็นึกไม่ออกเนอะว่า ชีวิตจริงเราจะได้ใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ พวกนี้ตอนไหน
    แต่พอได้มาทำงานแล้วก็เรียนรู้เยอะเลย เช่น Vloop-up ใน excel เป็นต้น

 


When I think I’m finished with a program and then re-read the technical specification

4. Final Preparation : เตรียมตัวครั้งสุดท้ายก็ขึ้นระบบจริง
ก็เตรียมข้อมูลให้พร้อม นัดแนะวันที่จะ Cut Off ข้อมูลเก่ากันให้ดี
หลักๆ ช่วงนี้ก็จะทำ
 data migration, cut off data, prepare template อะไรอีกอะ
อ่อทำ User Manual เซตสิทธิ์สร้าง Role Authorization แก่ UserID ที่จะให้ใช้ได้จริง
เรื่อง License ก็ให้ไปตกลงกับลูกค้าว่าจะซื้อกี่ License ค่า Maintence เป็นอย่างไร
พยายามทำให้ทุกอย่างมันราบรื่นที่สุด ถ้ายังไม่พร้อมก็เลื่อนให้มันนานขึ้น แน่นอนว่าถ้าไม่เสร็จเฟดนี้
เฟดต่อไปก็ยัง Go-LIVE ระบบไม่ได้นะ แต่ส่วนมากมักจะติดปัญหามาจากเฟด Realization มากกว่าค่ะ
เรามักจะชอบเรียกช่วงเฟดนี้ว่า เลวร้ายเซซั่นค่ะ เลวร้ายและวุ่นวายเสียจริงค่ะ
เป็นคำพ้องกับ Real Life ด้วยค่ะ นี้แหละค่ะชีวิตจริง
กลับดึกหน่อยนะช่วงนี้อ่ะ เสาร์ทิตย์ก็ต้องมากันบ้าง ถ้ามันไม่ทันจริงๆอะแกรร๊

When the Project manager brings me in to explain a technical issue to the Steering committee

5. Go-Live & Support พอถึงเฟดนี้ได้ก็จุดพลุฉลองกันได้เลยค่ะ เตรียมเฉือดไก่ เลี้ยงโต๊ะจีนกันไป
ช่วงนี้ลูกค้าก็จะได้ใช้ระบบ SAP จริงๆละ เราก็มีหน้าที่ไปคอยช่วย ให้คำแนะนำกับเขา
ติดปัญหาอะไร หรือไม่เข้าใจอะไรตรงไหน ก็ไปอธิบาย

When you’re 36 hours into the Go-Live weekend
When the Go-Live support period has ended

หัวข้อถัดมา หัวข้อที่ 2 จะมาแตกรายละเอียดตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับ SAP
หลายคนบอกว่าอยากทำ SAP จังเลย แต่ยังไม่ทราบว่าตัวเองเหมาะที่จะทำอยู่ Role ไหนดี
แต่ละสายต้องเรียนจบอะไรมา และงานที่ต้องทำนั้นอาศัยความรู้หรือทักษะอะไรบ้าง

  1. SAP Functional Consultant มีหน้าที่ในการคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ SAP
    โดยจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามโมดูลของตัวเอง (ด้านบนที่ได้อธิบายไว้)
    ทักษะ ฟัง คิด พูด อ่าน เขียน ได้ใช้ทุกวันแหละ เพราะต้องจัดประชุมกับลูกค้า
    สื่อสารกับคนในทีม ตามงาน ส่วนมากคนเรียนจบทางด้าน IT หรือ Business
    ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น จะมีก็แต่โมดูล FI ที่ถ้าจบบัญชีมาก็อาจจะเหมาะมากกว่าหน่อย  “เป็น Functional นี้ต้องอดทน อดกลั้น อดนอน
    งานหนักต้องอดทนโดนรถชนต้องไม่ตาย
    และก็ห้ามเหนื่อย ห้ามพัก ห้ามกิ๊กกับ ABAP และห้ามรัก User”
    555555555555555555555555555555 ขำขำด้วยความที่เป็นอาชีพที่จะต้องพบปะกับผู้คนหลายแบบ  User หลากประเภท
    ยิ่งถ้าชั่วโมงบินสูงๆ เป็นซีเนียร์มานานด้วย การโดนคาดหวังจากลูกค้าจะเพิ่มตามมาด้วย
    ถึงจะได้ค่าตอบแทนสูง แต่ต้องบริหารสภาพจิตใจ
    และประคองความเครียดและอยู่กับอารมณ์ต่างๆได้ด้วยความสตรอง
    ไม่ใช่กับลูกค้าหรือ user อย่างเดียวหรอก จากทีม Consult เองก็ด้วย
    ทุกคนคาดหวังให้งานมันประสบความสำเร็จและออกมาด้วยดีกันทั้งนั้นแหละ
    แต่บางคนก็ชอบเป็น Functional นะ มีพี่บางคนเขาเบื่อที่ต้องมาคุยกันลูกค้า
    เพราะมันจุกจิก วันนั้นเอาอย่างนี้ พออีกวันจะเอาอีกอย่างนึง ซึ่งถ้าเรา Control ไม่ดี
    เล่นไปตามเกมส์ตามอารมณ์เขา ปัญหาเราก็จะตกอยู่ที่เราด้วย เพราะถ้า requirement เปลี่ยน
    โปรแกรมเขียนและออกแบบไว้หมดแล้ว ละต้องมาแก้ใหม่ ทีม ABAP เอง
    ก็จะต้องมาปรับแก้ตามไปด้วย ดีไม่ดีอาจจะรามไปถึงทีมโมดูลอื่นด้วย
    หลายคนอาจจะหันเหไปเป็น ABAP นั่งอยู่เบื้องหลัง
    คอยรับ Spec Requirement จากทาง Functional แล้วก็เขียนตามที่อยากได้
    ไม่ต้องคอยมานั่งประชุมทั้งวัน หรือตามงานลูกค้าให้วุ่นวาย มันก็แล้วแต่คนชอบอะเนอะ

    Opening your mailbox after 5 weeks of vacation

2. SAP ABAP Programmer ถ้าชอบ Coding มาสายนี้เลย
มาเป็น ABAP งานจะเน้นไปที่เขียนโปรแกรมตามที่ Functional ออกแบบมาให้
จากการเก็บ requirement จากลูกค้า ซึ่งส่วนมากงานของทีมนี้จะเป็นสิ่งที่ต้อง Customize เพิ่มขึ้นมา
โดย SAP Customize เนี้ยะ จะทำได้ 2 แบบ คือ ทำผ่าน Configuration โดยปรับ field ที่ SAP Provide ไว้ให้
แล้วแต่ส่วนมาก Functional จะเป็นคนทำเองซะมากกว่า
และก็อีกแบบนึงคือเขียน ABAP Programer ก็คือปรับแต่งเพิ่มเติมจาก Standard ที่มีอยู่
ซึ่งพื้นฐานแล้วต้องมีความรู้ที่ด้าน Coding มาพอสมควร พวก Interface, Open SQL ก็ด้วย
โดย ABAP Developer jobs มี 5 ประเภท หรือเขาจะเรียกกันว่า RICEF แหละ คือมี
1) Report เป็นการดึงข้อมูลมาจาก Data base ออกมาเป็น Output report
2) Interface จะมี 2 ขา คือ ขา inbound และ ขา outbound
โดยอาจจะเป็นการที่ SAP ส่งค่าออกไปคำนวนกับ interface ภายนอก

3) Conversions คือการแปลงจากระบบเก่าหรือของเดิมที่มีอยู่ โอนเข้าไปยังระบบใหม่
4) Enhancement คือการแก้ไข Standard Coding เดิม
เนื่องจากมันไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยในนี้จะแบ่งย่อยๆ เป็น 4 แบบคือ

             –  User Exit คือเข้าไปแก้ไขหรือตรวจสอบเพิ่มเติมจากของเดิม
             –  Modification  แก้ไข Source Code โดยตรง (ไม่นิยมใช้)
             – New ABAP Dev. เขียนโปรแกรมใหม่ขึ้นมาเลย เปลี่ยน Screen ใหม่
คิด Dialog ใหม่ เนื่องจาก SAP ไม่ Provide ตามที่ลูกค้าอยากจะได้

             – Add-on/Bolt-on คือเอา 3rd Party Parner มาช่วยหรือจัดการเพิ่ม
5) Forms เช่นเขียนฟอร์มใบ Invoice, ใบ Quotation, ใบ PR/PO ขึ้นมา
โดย SAP Provide ไว้ 2 แบบคือ 1) SAP Script แบบนี้จะเรียกได้ทีละ Layout Set
เช่น Header/Footer  และ 2) Smart Forms จะเป็นการ general ครั้งเดียวแล้วเรียกมาหมดเลย

ค่าตัวของ ABAP โดยส่วนใหญ่แล้วจะคิดเป็น Manday
ว่าโปรเจ็คหนึ่งจะต้องการใช้กี่ Manday เพื่อทำ Customize Program ขึ้นมา

When I read an old program I’ve written and realize I used select * when I didn’t need all fields of the table.

3. SAP BASIS จะเป็นแนวดูแลระบบ Infrastructure ทั้งหมดของ SAP เช่น Database, Network
และระบบโดยรวมของ SAP งานของ BASIS ในแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน
ดังนั้นถ้าจะไปสมัครตำแห่ง BASIS ที่ไหนก็ควรจะถาม scope
งานเค้าก่อนว่าเราต้องทำอะไรบ้าง แต่ในที่นี้จะขอพูดหน้าที่โดยรวม ๆ ของ BASIS นะครับ
– Maintain user , update user (ในบางที่อาจจะมีอีกแผนกในการดูแลเรื่องนี้)
– Transport , Import TR
– Create job , Set up job , Monitor Job
– Monitor  system เช่น ดู log ต่างๆ เพื่อให้ user ใช้ SAP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– จัดการการเข้าถึงของ User (ให้สิทธิกับ user ในการใช้งานฟังชั่นต่างๆ)
– Back up ข้อมูล
– เขียนสคิป (Linux) เพื่อให้ในการส่งไฟล์ต่างๆ หรือจัดการกับไฟล์ภายใน Server
โดยรวมแล้วคนที่จะทำ BASIS จะต้องเป็นคนที่มีพื้นฐาน IT มาบ้างแล้ว (ต้องจบสายคอมพ์แหละ)
(ขอบคุณข้อมูล SAP BASIS จากนัท Panupun.M)

When your on the bench and you hear a new consultant request has come in

เอาเป็นว่าว่ากันมาพอสังเขป หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย
สำหรับผู้ที่กำลังสนใจในสายนี้นะคะ
ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะทำดีไหม บล็อกนี้อาจจะทำให้คุณ..เปลี่ยนใจหรือ ทำใจรับมือกับมันได้ดีมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่ติดตามนะ 🙂
หากมีข้อสงสัย หรืออยากแนะนำเพิ่มเติมบอกได้ค่ะ

งาน sap consult

Comments

comments

Exit mobile version