เป้าหมายสูงสุดในการทำงานของแต่ละคนคืออะไร เชื่อว่าทุกคนมีคำตอบอยู่ในใจ แต่สิ่งที่ทุกคนต้องการจากการทำงานหนัก นอกจากเงินเดือน และความมั่นคงในชีวิตแล้ว ความสุข คือสาเหตุสำคัญในการตัดสินใจที่เลือกจะทำงานต่อ หรือเดินออกไปจากองค์กร
5 อันดับสายงานที่มีความสุขในการทำงานมากที่สุด
1.งานบริหาร
2.งานท่องเที่ยว, งานโรงแรม, งาน F&B
3.งานธุรการ-งานทรัพยากรบุคคล
4.งานวิศวกรรม
5.งานบัญชี
ปัจจัยที่ทำให้พนักงงานมีความสุข (ปัจจุบัน)
+ ทำเลที่ตั้ง
+ ชื่อเสียงของบริษัท
+ เพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความสุขลดลง
+ ทีมบริหารไม่มีประสิทธิภาพ
+ ไม่มีโอกาสเติบโตในสายงาน
+ ไม่มีโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาตนเอง
ตามกฎหมายแรงงาน ระบุว่า ลูกจ้างต้องทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นการทำงาน 6 วัน แต่ก็จะมีหลายบริษัทที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันที่ไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อจะได้เพิ่มเวลาหยุดในวันเสาร์อาทิตย์ ให้ได้ใช้เวลาพักผ่อนไปกับครอบครัวหรือการท่องเที่ยว
ในปัจจุบันมักจะมีการนำเวลาการทำงานของไทยไปเปรียบเทียบกับเวลาทำงานของต่างประเทศ อย่าง ญี่ปุ่น ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน หยุด 3 วัน โดยหวังว่าลูกจ้างจะมีสมดุลในชีวิตและการทำงานมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาลของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการปฎิรูปการจ้างงาน หรือประเทศฝรั่งเศส ที่มีเวลาการทำงานโดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์น้อยที่สุดในโลก เพียง 30.46 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีการออกกฎห้ามบริษัทส่งอีเมล์ที่เกี่ยวข้องกับงานหลักเลิกงานและในวันหยุด แต่ประเทศไทยก็ยังมีหลายปัจจัยที่ไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องของลูกจ้างได้ ซึ่งในการทำงานปกติทุกวัน พนักงานส่วนใหญ่ยังมีความคาดหวังและเชื่อมั่นว่าอนาคตในการทำงานของตนเองต้องดีขึ้นกว่าเดิม แต่ก็มีอีกไม่น้อยที่ต้องการเปลี่ยนงานมากกว่าทนอยู่กับบริษัทที่ทำให้ไม่มีความสุขในการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเงินเดือนเป็นหลัก
จากรายงานของบริษัทจัดหางาน จ๊อบส์ดีบี มีการเปิดเผยว่า ความสุขในการทำงานของคนไทย เมื่อเทียบกับ 6 ประเทศ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย อยู่ในระดับที่คนไทยยังมีความสุขกับการทำงาน โดยเป็นการสอบถามที่ทางบริษัทได้จากพนักงานระดับต่างๆ จากในสายงานที่แตกต่างกัน และยังระบุถึงประเทศไทยในภาพรวมว่า กลุ่มคนที่มีอายุงาน 3-6 ปี จะมีความสุขในการทำงานมากที่สุด และกลุ่มเด็กจบใหม่ที่มีอายุงาน 1 ปี จะมีความกังวลเกี่ยวกับการทำงานจึงทำให้ไม่มีความสุข จากแบบสอบถามที่สำรวจคนไทย 1,957 คน พบว่า สายงานที่ทำให้คนไทยมีความสุขสุงที่สุด คือ งานบริหาร, งานท่องเที่ยว-โรงแรม-งาน F&B, งานธุรการ-งานทรัพยกรบุคคล, งานวิศวกรรม และงานบัญชี ตามลำดับ
การทำงานอย่างมีความสุข องค์กรควรเป็นผู้ร่วมสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานควบคู่กันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงานที่ถูกสุขอนามัย, การอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง อาทิ ค่าเดินทาง รถรับส่ง สวัสดิการต่างๆ นอกเหนือจากพื้นฐานที่มีอยู่ อย่างการเพิ่มความห่วงใยไปถึงครอบครัว หรือเพิ่มค่าล่วงเวลา การเสริมความรู้ให้กับพนักงานและองค์กร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทุกองค์กรเล็กหรือใหญ่ ควรสร้างให้มีระบบมาตรฐานเดียวกัน เพราะอาจจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างน่าทึ่งทีเดียว
ทางด้านสำนักสนับสนุนภาวะองค์กร สสส. ได้เคยชี้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างความสุขขององค์กรและพนักงานโดยเน้นให้ลงทุนที่การพัฒนาคุณภาพบุคลากร เพราะนับเป็นการพัฒนาคุณภาพขององค์กรเพิ่มขึ้นไปด้วย และสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าความสุขในการทำงาน คือ พนักงานเองก็ต้องพัฒนาทักษะในการทำงานและทักษะการใช้ชีวิตของตนเองควบคู่กันไปด้วย ซึ่งทักษะนี้เองจะช่วยส่งผลถึงการมีความในการทำงานได้โดยตรง ไม่ใช่ถึ่งพาและคาดหวังว่าองค์กรจะต้องทุ่มเทให้กับเราเพียงฝ่ายเดียว เพียงเพราะเราทำงานเต็มเวลา ในขณะที่พนักงานที่อื่นก็ทำแบบเดียวกับเราเช่นกัน
ความสุขการทำงาน 8 ประการ ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. Happy Body > มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและจิตใจ
- Happy Heart > มีน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันและกัน
- Happy Soul > มีศีลธรรมในการดำเนินชีวิต
- Happy Relax > รู้จักผ่อนคลายต่อสิ่งต่างๆ ในการดำเนินชีวิต
- Happy Brain > การศึกษาหาความรู้ พัฒนาตนเองตลอดเวลา
- Happy Money > มีเงินรู้จักเก็บ รู้จักใช้ ไม่เป็นหนี้
- Happy Family > มีครอบครัวที่อบอุ่นและมั่นคง
- Happy Society > มีความรัก เอื้อเฟื้อต่อชุมชนที่ตนทำงานและที่พักอาศัย
ที่มา : BLT Selected
Be First to Comment