เงินหายไปไหนหมดนะ มาตามหาเงินที่สูญหายไปอย่างปริศนาในแต่ละเดือน (find lost money)

เคยนึกสงสัยกันไหมว่า บางคนถึงบ่นว่าเงินเดือนแต่เดือนไม่พอใช้
หรือบางเดือน ชักหน้าไม่ถึงหลัง
ช็อตมากเดือนนี้ เดือนชนเดือน
ไม่เหลือออม
บลาบลา
แถมยังต้องไปรบกวนเงินในอนาคตอยู่บ่อย ๆ อีก
(ใครเป็นบ้าง ไม่ต้องยกมือ)
จนกลายเป็นหนี้สินโดยไม่รู้ตัว มาออมเงินกัน

เชื่อเถอะว่าในแต่ละปีเรามีค่าใช้จ่ายปริศนา ที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใช้จ่ายไปกับสิ่งใด
คนไทยหมดไปกับค่าใช้จ่ายปริศนาเหล่านี้
อาทิตย์ละ 1,143 บาท
ปีละประมาณ 60,000 บาท
คิดเป็น 72% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

จากข้อมูล Thairath infographic บอกไว้ว่า คนไทยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่รู้ว่าหมดไปกับสิ่งใด
สูงถึงปีละครึ่งแสน ปล่อยไว้ต่อไปแบบนี้ไม่ดีแน่ ๆ

และจากผลการสำรวจผู้บริโภคชาวไทย เชื่อว่าค่าใช้จ่ายปริศนาส่วนมากมาจาก
– ค่าอาหาร
– ขนมขบเคี้ยว
– สินค้าฟุ่มเฟือย
(คิดว่าผู้หญิงน่าจะเป็นกันทุกเดือน เสื้อ ผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องสำอาง)

โดยกลุ่มผู้บริโภคอายุ 18-24 ปี ค่าใช้จ่ายปริศนาเหล่านี้หมดไปกับ
– เที่ยวกลางคืน (Friday night สินะ)
– ปาร์ตี้
– ดูหนัง

จัดอันดับค่าใช้จ่ายปริศนาในอาเซียน (% ของรายจ่ายทั้งหมด)
1. ไทย                        72%
2. อินโดนีเซีย               57%
3. เวียดนาม                  48%
4. สิงคโปร์                    45%
5. มาเลเซีย                   44%
6. ฟิลิปปินส์                   42%

วิธีการเบสิคง่าย ๆ ทำมากันตั้งแต่สมัยประถมแล้ว คือ การจดบันทึกรายรับ รายจ่าย
ตัดการจ่ายส่วนที่ไม่สำคัญออก เพื่อให้เหลือเงินออมมากขึ้น

ที่อยากแนะนำคือจดบันทึกไว้ในแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
เดี๋ยวนี้มันแอพฯให้เลือกเยอะแยะ แต่ว่าที่เราใช้อยู่คือ “Spendee” ใช้มาได้ 4-5 เดือนแล้ว

20150704-1435989682.5193-6
Concept ของมันคือ
“Spendee Tracks Your Expenses with a Gorgeous, Frictionless Interface”

แนะนำเพื่อนไปหลายคนและ
รู้สึกว่าใช้ง่าย
หน้าตาสวยงาม
หน้า UI สะอาดเป็นมิตร
ปรับแต่งได้ยืดหยุ่นตามใจชอบ
ไม่จำกัด record transaction ต่อเดือน
เลือก scope ดูสถิติได้หลายมิติ
ที่สำคัญมันฟรีเว้ยแกรรรรรรรรรร ><

มีทั้ง iOS, Andriod

https://itunes.apple.com/app/spendee/id635861140

https://play.google.com/store/apps/details?id=com.cleevio.spendee

59cd7650-6062-421c-b6cd-ffaaa4c2463b

เราเคยลองใช้มาหลายแอพฯแล้ว คิดว่าอันนี้โอเค ถูกจริตสุด ใช้ได้มากกกก
บางแอพฯจะงงๆ หรือจำกัดโน่นนี่นั่นให้อัพเกรดเป็นเวอร์ชั่น Pro เสียตังค์เพิ่มเพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์
แต่ Spendee คือไม่มีอะ เวอร์ชั่นฟรีก็คือครบแล้ว พึงพอใจสุด
แต่ถ้าอยากจะอัพเป็นเวอร์ชั่นโปร ก็จะพิเศษขึ้นมีเรื่องการซิงค์ แชร์ วางแผนงบ อะไรงี้มาเพิ่ม

spendee

หน้าตาแอพฯ ก็จะประมาณนี้

S__4816968

เวอร์ชั่นฟรีจะให้กระเป๋าตังค์ wallet แค่ใบเดียว
ซึ่งก็เพียงพออยู่แล้วสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
หรือใครต้องการจะแยกรายรับรายจ่ายเป็นอีกส่วนนึงก็ไปซื้อเป็นแบบโปรเถอะ

S__4816964

ใส่รายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละวัน โดยที่จะแบ่งตาม Categories ที่ได้สร้างไว้
เช่นหมวด Food, Beauty Makeup, Car, Clothing ..ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งนั้น เราสามารถเพิ่มโหมด Categories ขึ้นใหม่เองได้เรื่อย ๆ
ช่วยให้เวลาเราดูรายงาน Overview ออกมา จะได้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้นว่าแต่ละเดือนเราหมดไปกับค่าใช้จ่ายโหมดไหนเยอะสุด
และแนะนำว่าควรบันทึกให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ใจจะบันทึกไว้
เช่น ในแต่ละวันมันจะมีค่าอาหารใช่ป่ะ ควรคีย์ลงเป็นแบบ Drill Down
แบบ ข้าวผัดปูพิเศษ+ไข่ดาว ร้านป้าใต้ตึก   55 บาท
ขนมโตเกียวไส้หวาน + ไส้หมูสับ 4 ชิ้น  30 บาท
บรีสสูตรน้ำขนาด 450 มล. ที่ Tops  200 บาท
ยิ่ง spite เป็น line items (ติดพิมพ์ศัพท์ sapว่ะ) ได้ละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งดี
..

เหตุผล คือ
การเก็บ Data ไว้ละเอียดขนาดนี้ย่อมเกิดดีในการเปรียบเทียบดูราคาแต่ละรายการย้อนหลัง
ยิ่งถ้าระบุสถานที่ไปด้วย เวลาไปซื้อของเราสามารถเปิดแอพฯย้อนกลับมาดูได้
ว่าเราเคยซื้อของชิ้นไปในราคาเท่าไหร่

ที่ไหนถูกสุด แต่ค่าใช้จ่ายชนิดใดสิ้นเปลืองสุด
เหมาะที่จะตัดรายการนั้นออกไปในเดือนถัดไป

(แต่ที่เห็นเราบันทึกลวก ๆ ในรูปนั่นก็อย่าไปเอาเป็นตัวอย่างเลย)

กดดู Overview โดย Scope ตาม Categories ก็จะได้หน้าตาออกมาเป็นงี้ ><

S__4816966

หน้าตาแอพฯ สวยงามตามท้องร้อง ดูง่ายสบายตาสุด
แอพฯ มันใช้ง่ายอ่ะ แรกๆอาจจะงงๆ ก็ไม่ต้องตื่นเต้น กดๆไปเดี๋ยวก็คล่องเอง

S__4816967

รายงานผลออกมาได้ละเอียดพอสมควร

S__4816965

สุดท้ายจะมาเขียนถึงหลักการจัดการเงินแบบง่าย ๆ 5 ข้อ

1. ให้กดเงินจาก ATM เดือนละครั้งเดียว วันเดียวกัน ในจำนวนที่เท่ากันทุกเดือน
เพื่อวันไหนที่เงินหมดก่อน จะได้รู้ว่าเกินงบละนะ

2. เวลาขายหุ้น ทอง หรืออะไรก็ตาม
ควรแบ่งกำไรส่วนหนึ่งไปฝากแบงค์หรือซื้อพันธบัตร ไม่ใช่เอาไปลงทุนใหม่ทั้งก้อน

3. อย่าคิดเรื่องลงทุน จนกว่าจะมีวินัยในการออม
เพราะถ้าเก็บเงินไม่เป็น ถึงจะได้กำไร ก็จะเก็บกำไรไม่ได้อยู่ดี

4 วิธีสร้างวินัยในการออม คือหักรายได้ส่วนหนึ่งเป็นเงินออมทันทีที่ได้รับ
ไม่แตะมันอีกเลย ใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เหลือ

ขอบคุณข้อมูลจาก สฤณี อาชวานันทกุล ค่ะ

..

แถม info-graphic ให้ไว้อ่านเล่น

เก็บเงินออมง่ายนิดเดียว

Saving_resize_resize

SAVEMONEYFORTRAVELกกกก

ASK-110414-5-easy-ways-to-save-money

aommoney-01

1427906674-image-o

10014605_618355548213109_525700617_n

3724647f702d600f6412885c0d1f1431_1402560446

Comments

comments

fangrio Written by:

สนใจเกี่ยวกับการทำอาหาร ต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และความเป็นไปรอบตัว อยู่บ้านชอบเดินเท้าเปล่า ไม่ชอบนอนดึก แต่ตื่นไม่เช้า เป็นหัวไช้เท้าดองเลิฟเวอร์

Be First to Comment

Leave a Reply