ปกติเป็นคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS บ่อยมาก แทบจะทุกวัน
ตอนนี้อายุ 22 ปี ใช้เป็น บัตรแบบ Student สีเขียว อยู่
—————————————————————————
ปกติทางเจ้าหน้าที่พนักงานเขาจะมีการสุ่มตรวจกันแบบน่าจะ random
ตรวจบ่อยสุดน่าจะเป็นที่สถานี อโศก (Asok)
เพราะเป็นแหล่งสุมของคนทำงาน
โดยเฉพาะช่วงพีคไทม์ 7.45-8.30
วันดีคืนดี ก็จะมีเจ้าหน้าที่ใส่ชุดสีฟ้า ๆ ดักรออยู่ตรงทางออกตู้ติ๊ดบัตร
ส่วนมากถ้าเขาเห็นว่าถือบัตร student อยู่ก็จะขอตรวจดูหลักฐาน
คือ บัตรนิสิตนักศึกษา และ บัตรประชาชน
(และพ.ศ.เกิดต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปีด้วย)
ต้องมีครบทั้ง 2 บัตรนะค่ะ ไม่งั้นโดนยึดแน่
ของเราก็เคยโดนยึดที่สถานีอโศกเนี้ยะแหละ ถือบัตรไว้คามือเลย
เจ้าหน้าที่ก็ขอตรวจดูหลักฐาน จำได้ว่าตอนนั้นโดนกันหลายคนอยู่
ด้วยความที่ลุคตอนนั้นคงแก่เกินคนอายุ 23
จึงยากที่จะเชื่อว่าเป็นนักศึกษาอยู่
แต่..ณ วินาทีก็คือเงิ่บ และต้องรวบรวมสตินะ
หลักฐานเรามีครบแหละ ทั้งบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชน
แต่บอกไปว่า ไม่มีบัตรนักศึกษาค่ะ
แน่นอนค่ะ “โดนยึดบัตร BTS ไปต่อหน้าต่อตา”
เจ้าหน้าที่ผู้หญิง (หน้าดุ) ก็เลยบันทึกเป็นใบเทาๆ ลงข้อมูลรายละเอียดชื่อเรา บัตร วันที่ เหตุผลที่โดนยึดบัตร
มันจะมี 2 ส่วน คือส่วนที่เก็บไว้ที่เรา อีกส่วนของเจ้าหน้าที่จะเก็บไว้เป็นหลักฐานตอนเรามาขอบัตรคืน
พร้อมกล่าวอย่างเฉยๆว่า “ถ้ามีหลักฐานมายื่นครบเมื่อไหร่ก็มารับบัตรคืนได้ทุกเมื่อทุกเวลาเลยนะ”
ความเครียดอยู่ที่ เพิ่งเติมเที่ยวไป 50 เที่ยว (900 บาท)
พร้อมกับเติมเงินเข้าไปในบัตร 100 บาท เบ็ดเสร็จก็ 1000 บาท
ช็อคไปเลย แทบร้องไห้
กลายเป็นว่าวันนั้นทั้งวันไม่เป็นอันทำงงทำงานเลย หาวิธีเพื่อไปเอาบัตรคืนมาให้ได้
เพราะต้องใช้ทุกวัน
จะให้เสีย 52 บาท (นั่งจากปุณณวิถี – อโศก) ต่อเที่ยวไม่ไหวแน๊ เงินโม๊ดแน่ ๆ
แต่สุดท้ายก็ท้าทายอำนาจมืด ใจดีสู้เสือ
พักเที่ยงปั๊ปมากินข้าวที่ Terminal เสร็จรวบรวมความกล้า
แอ๊บหน้าให้เด็กที่สุด keep look เด็กมหาลัยจ๋า (ถ้ามีชุดนิสิตคงใส่ไปแล้ว)
ถอดรองเท้าส้นสูงไว้กับเพื่อน
เดินไปที่ห้องขายบัตรที่สถานีอโศก (ฝั่งโรบินสัน)
บอกเจ้าหน้าที่ว่ามาติดต่อขอรับบัตรคืนค่ะ พร้อมกับยื่นใบเทาๆที่ได้มาเมื่อเช้า
และก็แนบหลักฐานคือบัตรนักศึกษา + บัตรปชช.
เจ้าหน้าที่ในสถานีก็ไปหาบัตรเรามาให้ เราก็เซ็นรับบัตรคืนก็ได้บัตรมา
เขาก็ไม่ได้ตรวจบัตรเราละเอียดอะไรนะ คงดูแค่ พ.ศ.เกิดว่าโอเค ยังใช้ได้อยู่
ปีหน้าก็คงไม่ได้ละเกิน ต้องไปทำเป็น บัตร Adult สีส้ม
แต่ชีวิตมันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น
3 เดือนต่อมา
สติสตางค์คงไม่ค่อยมีในเช้าวันศุกร์ ทำบัตร BTS หาย
กว่าจะรู้ตัวว่าหาย ก็มืดค่ำกันแล้ว
คร่ำครวญโวยวายเบอร์สุด อาลัยอาวรยิ่งกว่าตอนอกหัก
พีคกว่าโดนยึดอีก เพราะเพิ่งเติมเที่ยวไป 50 ใช้ไปประมาณ 6-7 เที่ยวเอ๊งแกรรรร
หายแบบแน่ใจว่าตามหาไม่เจอแล้วจริง ๆ
สิ่งแรกที่ทำเมื่อรู้ว่าหายคือ
เราสามารถไปแจ้งว่าทำบัตรหายได้ทุกสถานี
เราก็ไปแจ้งที่อโศกเหมือนเดิมแหละ (ชีวิตเช้าเย็นก็อยู่แต่แถวนี้ – -“)
เจ้าหน้าที่ก็จะให้ใบมากรอกรายละเอียดบัตร ว่า
ทำหายที่ไหน เมื่อไหร่ มูลค่าในบัตรเหลือเท่าไหร่ เดินทางเที่ยวสุดท้ายที่ไหน ..
กรอกไปให้ละเอียดที่สุด
เราก็ถามเจ้าหน้าที่ไปว่า
“วันนี้มีคนเก็บบัตรได้บ้างไหมคะ?”
“ไม่มีเลยครับ” (ยิ้ม)
“แล้วปกติมีคนมาแจ้งหาย แล้วได้คืนบ้างไหมคะ?”
“ก็..ต้องบอกก่อนเลยว่าโอกาสที่จะได้คืนน้อยมากครับ
ส่วนมากกรณีที่ได้คืนคือเจ้าหน้าที่ของเรา ไม่ก็รปภ.เห็นตกหล่นถามสถานีมากว่าครับ” (ยิ้ม)
ยิ้มทั้งน้ำตา
T________________T
หรืออีกวิธีนึง
ถ้าใครได้ลงทะเบียนบัตร Rabbit card ไว้ที่
สามารถเข้าไปเช็คที่เมนู Transaction history (ประวัติการทำรายการ)
ว่ามีคนเอาบัตรเราไปใช้ขึ้นจากสถานีไหนบ้างรึป่าว
(เข้าไปเช็คแล้วไม่มีประวัติการใช้บัตรขึ้นเลย
แสดงว่าหายสาบสูญแบบไม่มีใครเก็บได้ จะดีใจหรืออะไรดีว่ะ)
ลืมบอกไปว่ากรณีที่เราทำบัตรหาย
บีทีเอสไม่สามารถรับผิดชอบจำนวนเที่ยวที่เหลือ และจำนวนเงินในบัตรให้ได้
แต่จำนวนคะแนน point ในบัตรที่สะสมมาทั้งชีวิตสามารถเอาคืนได้
โดยเข้าจัดการง่าย ๆ ด้วยตัวเองที่เว็บไซต์เดิม
ที่เมนู Add/Change rabbit (เพิ่ม เปลี่ยนข้อมูลแรบบิท)
เราสามารถเพิ่ม/ลบบัตรที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน เพื่อให้ระบบบันทึกคะแนนได้
เพิ่มได้สูงสุด 5 ใบ/บัญชีค่ะ
ในที่นี้เราก็ทำการอายัดหมายเลขบัตรที่เราได้ทำหายไป ได้ติ๊กยกเลิก > ยืนยัน
แค่นี้ใครก็ตามที่เก็บบัตรเราไปได้ ก็เอาคะแนนของเราไปแลกของรางวัลไม่ได้แล้ว เย้
แต่เที่ยวกับเงินในบัตรก็ปล่อยวางไปเถอะเนอะ ฮืออ T^T
อ่ออ และก็อย่าลืมเพิ่มข้อมูลเลขที่บัตรใหม่ที่ได้ไปซื้อใหม่ลงไปด้วยละ
รายละเอียดการสมัครบัตรใหม่
ช่วงนี้เขาลดราคาค่าธรรมเนียมการออกบัตรเหลือ 50 บาท จาก 150 บาท
(โปรฯนี้แค่สิ้นปี 31 ธันวา 2558)
และมีค่ามัดจำบัตร 50 บาท
ตอนนั้นไปสมัครที่สถานีอุดมสุข เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยถามอะไรเลย ปกติต้องขอดูหลักฐานแหละ
เสร็จเรียบร้อย ได้บัตรมาใหม่แล้ว คราวหน้าก็อย่าทำหายกันอีกง่ะ
ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.rabbitcard.com/th/
จบ.
ปล. [ขออนุญาตใช้รูปจากเว็บ andrewandkelsi.com]
Be First to Comment